เมนู

ความหดหู่จิต. เมื่อยังอโยนิโสมนสิการให้เป็นไปมากครั้งในอกุศลธรรมเหล่านี้
ถีนมิทธะ ย่อมเกิดขึ้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงไค้ตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีอยู่ อรติ (ความเอือมระอา) ตันทิ (ความคร้านกาย)
วิชัมภิกา (ความบิดคร้านกาย) ความหดหู่ใจ การทำให้มากซึ่งอโยนิโสมนสิการ
ในอรติเป็นต้นเหล่านั้น นี้ เป็นเหตุนำผลมาให้ (อาหารปัจจัย) เพื่อการ
เกิดขึ้นแห่งถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดขึ้นบ้าง เพื่อความเจริญยิ่ง เพื่อความไพบูลย์
แห่งถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้วบ้าง. ส่วนการละถีนมิทธะ มีโดยโยนิโสมนสิการ
ในอารัมภธาตุเป็นต้น. ความเพียรที่เริ่มต้น ชื่อว่า อารัมภธาตุ. ความเพียร
ที่มีกำลังมากกว่านั้น เพราะออกไปแล้วจากความเกียจคร้าน ชื่อว่า นิกขมธาตุ.
ความเพียรที่มีกำลังมากกว่านั้นในรูป เพราะก้าวไปสู่สถานที่ข้างหน้า ชื่อว่า
ปรักกมธาตุ.
ผู้ยังโยนิโสมนสิการให้เป็นไปมากครั้ง ในวิริยะ 3 ประเภท นี้จะละ
ถีนมิทธะได้ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ตรัสไว้ว่า มีอยู่ ภิกษุ-
ทั้งหลาย อารัมภธาตุ 1 นิกกมธาตุ 1 ปรักกมธาตุ 1 การทำให้มากซึ่ง
โยนิโสมนสิการ ในธาตุเหล่านั้น นี้เป็นเหตุนำผลมา (อาหารปัจจัย) เพื่อ
ความไม่เกิดขึ้นแห่งถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดบ้าง เพื่อละถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้วบ้าง.

ธรรมสำหรับละถีนมิทธะ 6 ข้อ


อีกอย่างหนึ่ง ธรรม 6 ประการเหล่านั้น เป็นไปเพื่อละถีนมิทธะ คือ
1. การบริโภคโภชนะที่เหลือเพื่อแต่พอประมาณ
2. การผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ
3. การมนสิการอาโลกสัญญา
4. การอยู่แต่ในที่แจ้ง